คำศัพท์บนเรือ
สำหรับโพสต์นี้จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆที่ต้องเจอ ต้องได้ใช้แน่ๆบนเรือค่ะ
Set back : เนื่องจากเรือวิ่งไป-มาหลายประเทศ ดังนั้นก็ต้องมีการปรับเวลาให้ตรงกับเวลาท้องถิ่นตามเมืองต่างๆที่เรือไปจอด set back คือตั้งเวลาถอยหลัง เช่น คืนนี้ set back 1 hour แปลว่า เราต้องตั้งเวลาช้าลง 1 ชั่วโมงค่ะ
Forward : อันนี้เหมือนกัน แต่เป็นการตั้งเวลาเพิ่ม เช่น คืนนี้ forward 1 hour คือตั้งเวลาเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง set back ไม่ค่อยมีปัญหาเท่า forward ค่ะ เพราะถ้าเราลืมset forward เราจะไปทำงานสาย แล้วโดนหัวหน้าโทรตามตอนเช้า เช่น พรุ่งนี้เราเข้างาน 6 โมงเช้า แต่ลืมset forward
พอตอนเช้า ตี5 หัวหน้าจะโทรตามแล้วค่ะว่าทำไมไม่ไปทำงาน แต่จริงๆเวลามัน 6โมงเช้าแล้วค่ะ อันนี้คนที่ทำงานเรือจะรู้ดี ฮ่าๆ
Drill : ถ้าอธิบายง่ายๆคือเป็นการซ้อมความปลอดภัยต่างๆ หลักๆเลย drill คือ ถ้ามีสัญญาณเตือนแล้วก็ประกาศ ให้เราหยิบเสื้อชูชีพ (life jacket) ไปที่ life boat(เรือชูชีพ)/ life raft (แพชูชีพ) ที่ทางเรือได้จัดไว้ให้เรา การ drill จะมีทุกๆสัปดาห์ค่ะ หลายๆคนจะไม่ชอบ drillเพราะติดงานอยู่ นอนอยู่บ้าง แต่ต้องไปนะคะ เพราะเค้าเช็คชื่อด้วยค่ะ
Embarkation : พูดแบบเข้าใจง่ายคือ การขึ้นเรือค่ะ อย่าง embarkation day คือวันที่เราหรือแขกขึ้นเรือไปเป็นวันแรกค่ะ
Disembarkation : ตรงข้ามกับembarkation ก็คือการออกจากเรือขึ้นฝั่ง เช่น พอเราจบ
คอนแทรควันที่ 15 มกราคม ก็แปลว่า วันที่15เป็นวันที่เราdisembark ออกจากเรือไปขึ้นเครื่องที่สนามบิน บินกลับบ้าน
Port day : คือการที่เรือไปจอดตามท่าเรือ ตามเมืองต่างๆ แขกจะออกไปเที่ยว ส่วนมากจะไปถึงตอนเช้า 8:00 แล้วก็ออกจากฝั่ง ประมาณ 17:00 งานจะไม่เหนื่อยเท่า sea day เพราะแขกออกไปข้างนอก
ส่วนลูกเรืออย่างเราก็จะได้เที่ยวด้วย ถ้าเรามีเวลาเบรค
Seaday : แปลตรงตัวเลยก็คือเป็น”วันที่เรือล่องอยู่กลางทะเลทั้งวัน”ค่ะ ตรงข้ามกับ port day เพราะจะเหนื่อยหน่อย เนื่องจากแขกอยู่บนเรือหมด
Cancelled port : อันนี้คาดการณ์ไม่ได้ จากประสบการณ์เราคือเรือไปถึงแล้ว แต่จอดไม่ได้ ลมแรง คลื่นแรง จนสุดท้ายกัปตันประกาศยกเลิก ไม่จอดแล้วก็ล่องเรือไปport ต่อไป แล้ววันนั้นก็จะกลายเป็น sea day โดยปริยาย
Dock : ก็คือการเทียบท่า อันนี้เรือจะจอดติดportเลย
Anchor : อันนี้เรือจอดติด port ไม่ได้ ก็จะใช้วิธีทิ้งสมอเรืออยู่ไม่ไกลจากฝั่งมาก แล้วทางเรือจะใช้เรือเล็กๆหรือเรือชูชีพทำเป็น tender ให้แขกนั่งออกไปขึ้นฝั่ง
Payday : อันนี้คือวันที่รอคอยของพวกเรา อย่างบริษัทเราเงินจะออกทุกๆ 2 อาทิตย์ค่ะ คือ mid payday (ประมาณวันที่ 17-18 ของเดือน)กับ final payday (ประมาณวันที่ 5-6 ของเดือน)
Port side : บนเรือโครงสร้างจะเหมือนๆกันทั้งฝั่งซ้ายฝั่งขวา ดังนั้นวิธีบอกทิศทางเพื่อให้ทุกคนบนเรือเข้าใจตรงกันคือ หันหน้าไปทางหัวเรือฝั่งซ้ายมือ เราเรียก “port side” ค่ะ
Starboard side : ตรงข้ามกับport side ฝั่งขวามือเราเรียกฝั่งนี้ว่า starboard ค่ะ
Rough sea : หมายถึงทะเลมีคลื่นสูง เรือโยกไปโยกมา
Tender : อย่างที่อธิบายไปข้างต้น เรือจอดติดport ไม่ได้ เรือก็จะใช้วิธีทิ้งสมอแล้วใช้ เรือเล็กๆ เพื่อส่งแขกขึ้นไปเที่ยวบนฝั่ง เราก็จะเรียกเรือเล็กๆที่ใช้นั้นว่า tender สำหรับลูกเรือที่จะออกไปเที่ยว แล้ววันนั้นมี tender ก็จะต้องชั่งใจแล้วค่ะว่าจะออกไปข้างนอกมั้ย เพราะต้องเผื่อเวลาต่อคิวขึ้น tender ไหนจะรอเวลาออกอีก หลายคนคิดว่าเสียเวลา วันนั้นก็ตัดสินใจเลือกที่จะไม่ออกไปค่ะ
Infirmary : อันนี้หมายถึง medical center ค่ะ เรามารู้จักคำนี้ตอนไปทำงานบนเรือค่ะ เราป่วยแล้วหัวหน้าถามว่า “เธอไป infirmary รึยัง? “ ตอนแรกเราฟังเป็น “ฟอร์มาลีน” ฮ่าๆ มารู้ทีหลังว่าเค้าพูดว่า infirmary : )
Deck : บนเรือเค้าจะไม่เรียกชั้นต่างๆว่า ชั้นนู้นชั้นนี้ (floor) แต่จะเรียก deck เช่น สระว่ายน้ำอยู่ชั้น9
ก็จะพูดว่า สระว่ายน้ำอยู่ deck 9
Gangway : ก็คือทางเดินเข้า-ออก ระหว่างตัวเรือกับท่าเรือค่ะ
dry dock : แปลตามตัวคือ การเทียบท่าแบบแห้ง ถ้าเรือมี dry dock อีกนัยหนึ่งคือ เป็นการปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ โดยเรือจะไปจอดที่ port แล้วก็เอาน้ำออก จะทำให้เราเห็นเครื่องยนต์และส่วนต่างๆใต้ท้องเรือค่ะ ชมการ dry dock ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wJVvkMmur0g
all board : อันนี้สำคัญมาก แปลว่าทุกคนต้องกลับมาขึ้นเรือตามเวลาที่ทางเรือกำหนด คำนี้จะเจอตรง gangway ค่ะ จะติดไว้ให้ทุกคนที่ออกจากเรือไปเที่ยวบนฝั่ง ทราบว่า ต้องกลับมาที่เรือก่อนกี่โมง เช่น
all board 4:30 PM แปลว่า เราต้องกลับมาก่อน สี่โมงครึ่ง ถ้าช้ากว่านั้น แล้วกัปตันไม่รอ ปิดgangway แล้วเรือก็เริ่ม sail ถ้ามาไม่ทัน เรียกว่า miss ship อารมณ์ประมาณไปขึ้นเครื่องบินแล้วไปไม่ทัน “ตกเครื่อง”
forward/mid ship /aft : เนื่องจากเรือใหญ่ เป็นการบอกตำแหน่งของที่ต่างๆบนเรือ เช่น medical center อยู่ที่ deck A ส่วนตรงกลางของเรือ เราก็จะบอกได้ว่า medical center อยู่ที่ deck A mid-ship (forwardคือส่วนหน้า /aft คือส่วนท้าย/ส่วนหลัง)
sea sick : วันไหนที่ seaday หรือมี rough sea คลื่นสูงๆเรือโคลงมากๆ หลายคนก็จะมีอาการเมาเรือ รวมทั้งแขกและลูกเรือ เพื่อนเราหลายคนพอมี rough sea ก็เมาเรือ ทำงานต่อไม่ได้ก็มี เพราะเวียนหัว คลื่นไส้
repatriation : แปลงตรงตัวคือ การส่งกลับ คำนี้เจอตอนช่วงโควิดค่ะ คือเรือสำราญหยุดวิ่ง ไม่มีแขก
ทางบริษัทก็เลยพยายามที่จะส่งลูกเรือกลับบ้าน เรียกว่า repatriation
หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับว่าที่ลูกเรือใหม่นะคะ ขึ้นเรือไปได้เจอ ได้ใช้แน่ๆค่ะ ^^
ติดตามชีวิตลูกเรือสำราญ 239 วันได้ที่ >> https://www.mebmarket.com/ebook-127839-บันทึก-239-วัน-เมื่อฉันเป็นลูกเรือสำราญ
ถ้ามีคำถามสงสัยแวะไปที่เพจได้เลยจ้า >> https://www.facebook.com/Journeyofarrow
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น